อาการปวดหลัง

อาการปวดหลัง

อาการปวดหลัง มหันตภัยเงียบที่มาเยือน ยามที่ร่างกายของคุณเสื่อม!

0

อาการปวดหลัง

เมื่อพูดถึง อาการปวดหลัง หลายคนคงกำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับโครงสร้างของร่างกาย ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังกันก่อน

1. กระดูกสันหลัง
เป็นกระดูกแกนกลางที่สำคัญของร่างกายในการรองรับน้ำหนักตัว กระดูกสันหลังมีลักษณะเป็นปล้องๆ ตั้งแต่คอถึงเอว โดยจะเรียกตำแหน่งตามตัวเลข ดังนี้
ส่วนคอ (cervical spine) ประกอบด้วยกระดูก 7 ชิ้น (เรียก C1-C7)
ส่วนอก (thoracic spine) ประกอบด้วยกระดูก 12 ชิ้น (เรียก T1-T12)
ส่วนเอว (lumbar spine) ประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้น (เรียก L1-L5) ซึ่งเป็นส่วนที่พบอาการปวดบ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบน
ส่วนกระเบนเหน็บ (sacral spine) ประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้น (เรียก S1-S5) ซึ่งทั้งหมดจะรวมเป็นชิ้นเดียว เรียกว่ากระดูกก้นกบ

2. ข้อต่อกระดูกสันหลัง
บริเวณตำแหน่งที่กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นเชื่อมต่อกันเรียกว่า ข้อต่อกระดูกสันหลัง มี 2 ข้าง คือซ้ายและขวา ช่วยให้กระดูกสันหลังสามารถเคลื่อนไหวได้ และระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นจะมีหมอนรองกระดูกสันหลังคั่นอยู่ ภายในหมอนรองกระดูกมีลักษณะคล้ายเจลลี ซึ่งถ้าหากหมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดและส่วนชั้นในเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ก็จะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้

3. กล้ามเนื้อหลัง
กล้ามเนื้อหลัง จะทำหน้าที่ในการยึดติดอยู่กับกระดูกสันหลัง โดยมีเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกแต่ละชิ้นเข้าไว้ด้วยกัน

4. เส้นประสาทไขสันหลัง
เส้นประสาทไขสันหลัง จะอยู่ในช่องโพรงกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาทไขสันหลังจำนวน 31 คู่ ทำหน้าที่รับความรู้สึกและสั่งงานไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

สิ่งที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการปวดหลัง ได้แก่

1. อายุที่มากขึ้น หากไม่ได้รับการดูแล หรือออกกำลังกายจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปอาการปวดหลังเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งในหนุ่มสาววัยทำงาน และในผู้สูงอายุ
การขาดการออกกำลังกาย ในคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังไม่แข็งแรง ไม่สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้

2. ความอ้วน ซึ่งแน่นอนคนที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป จะส่งผลให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักมากขึ้นกว่าคนปกติ และทำให้เกิดความเสื่อมได้มากขึ้น

3. ไขมันที่พอกพูนบริเวณหน้าท้อง จะส่งผลทำให้สมดุลของร่างกายเสียไป และเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเสื่อมลงได้เร็วขึ้น

4. การเจ็บป่วยจากโรคบางโรค ที่ส่งผลต่ออาการปวดหลัง เช่น โรคมะเร็ง เนื้องอก ไขข้ออักเสบ โรคไต

5. พฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงาน เช่นในกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ต้องยกของหนัก ใช้แรงงานและท่าทางต่างๆ ที่อาจจะทำให้เกิดสภาวะความผิดปกติของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงส่งผลให้กระดูกสันหลังบิด นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ที่นั่งทำงานในโต๊ะ เป็นเวลานานก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกาย หักโหม หรือผิดท่า เช่น กลุ่มคนเล่นกอล์ฟ การเอี้ยวตัวที่ผิดจังหวะ ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นกัน และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นได้

6. อากับกิริยา ทั้งในการเดิน นั่ง นอน บางคนชอบงอตัว หลังไม่ตรง ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง ย่อมส่งผลต่ออาการปวดหลังเรื้อรังได้เช่นกัน

7. ความผิดปกติของอาการปวดหลังมาแต่กำเนิด ซึ่งพบน้อย แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีปัญหาดังกล่าวเช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบแต่กำเนิด กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังมีมากหรือน้อยผิดปกติ

8. ความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อหลัง อันได้แก่ ภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท โพรงกระดูกหลังแคบ กระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น

9. การเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ก็นำมาซื้อ

อาการ

ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเฉพาะที่หลังเพียงอย่างเดียว หรืออาจมีอาการปวดร้าวมาที่สะโพกหรือขา อาการปวดขาจะปวดไปตามบริเวณซึ่งถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้น ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีลักษณะความปวดแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางรายอธิบายอาการปวดว่ามีลักษณะแหลมเหมือนโดนมีดแทง บางรายรู้สึกปวดหน่วงและหนักที่ขา หรือบางรายอาจรู้สึกเพียงเหน็บชาคล้ายเวลาที่นั่งทับขานานๆ เท่านั้น

สัญญาณเตือนที่ควรรีบพบแพทย์

– อาการปวดหลังที่เป็นเรื้อรังติดต่อกันนานเกินกว่า 3 เดือน
– ปวดร้าวลงสะโพก ขา จนถึงบริเวณน่องหรือเท้า
– อาการปวดเฉียบพลันที่ไม่ทุเลาลงเมื่อได้พัก หรือมีอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
– อาการปวดหลังจากการได้รับบาดเจ็บหรือหกล้ม
– อาการปวดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง ชาบริเวณขา เท้า หรือรอบทวารหนัก คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทางเลือกในการรักษา

1. การรักษาโดยการผ่าตัด อยู่ที่อาการที่เป็น และดุลยพินิจของแพทย์ ว่าสมควรที่จะรักษาโดยวิธีการผ่าตัด
2. การรักษาเพื่อลดอาการปวด โดยไม่ต้องผ่าตัด ก็มีหลายกหลายวิธี เช่น กายภาพบำบัด การฉีดยา การรับประทานยา การฝังเข็ม การบริหารกล้ามเนื้อหลังให้ถูกต้อง
3. การรักษาโดยใช้นวัตรกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ ที่มีผลการวิจัยรองรับ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ ก็มีหลากหลาย และมีงานวิจัยรองรับ ว่าสามารถช่วยให้อาการป่วยต่างๆ ทุเลาลงได้

สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือการที่เราต้องหมั่นตรวจ และดูแลสุขภาพของเราเอง อย่าประมาท เพราะจะทำให้อาการที่ไม่หนัก กลับกลายเป็นหนักได้ การออกกำลังกาย เป็นสิ่งสำคัญต่อการมีสุขภาพดี แต่ก็ต้องอยู่ในความเหมาะสมด้วยเช่นกัน

error: Content is protected !!